นกบิล

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสอนภาษาไทย โดยแนวสมดุลภาษา (Balanced Literacy)

สมดุลภาษา (Balanced Literacy)



การสอนภาษาไทย โดยแนวสมดุลภาษา (Balanced Literacy) เป็นแนวสอนภาษาที่เริ่มมาจากประเทศนิวซีแลนด์ โดยพัฒนามาจากวิธีการสอนภาษาแนวธรรมชาติแบบองค์รวม (Whole Language) การสอนแบบนี้โรงเรียนในระดับปฐมวัยไทยได้ใช้อยู่ เริ่มจากมูลนิธิชมรมไทย – อิสราเอล ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำมาเผยแพร่

การสอนแบบสมดุลภาษาที่นิวซีแลนด์ได้พัฒนาแนวการสอนที่บูรณาการ การสอนแบบให้มีความหมาย(Whole Language) และการสอนสะกดคำแจกลูก (Phonics) เข้าด้วยกัน ประมาณ พ.ศ. 2534 โดยยึดหลักเด็กเป็นศูนย์กลาง

วิธีการสอนแบบสมดุลภาษาในระดับปฐมวัย ทำได้โดยการนำภาษาไทยเข้าไปใช้สอน เพื่อให้เด็กปฐมวัย โดยเตรียมความพร้อมในการอ่าน สร้างนิสัยรักการอ่าน รู้จักหนังสือ พูดสื่อสารเรื่องราวความรู้สึก กิจกรรมที่ ควรทำอย่างต่อเนื่อง เช่น

1. การเล่านิทานทุกวัน

2. อ่านหนังสือร่วมกันกับนักเรียน และสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องในหนังสือ

3. ฝึกอ่านจากเพลง คำกลอน

4. ฝึกให้รู้จักตัวพยัญชนะ สระ และคำ โดยใช้เกม กิจกรรม

5. ฝึกให้เด็กพูด เล่าเรื่อง

6. ฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับการเขียน โดยครูเขียนจากคำพูดของเด็ก

7. เล่นเกมทางภาษา

8. การเล่าข่าว/เหตุการณ์ประจำวัน

การวิเคราะห์ความสามารถและข้อบกพร่องในการอ่านและการเรียนรู้ภาษาไทย

การวิเคราะห์ความสามารถและข้อบกพร่องในการอ่านและการเรียนรู้ภาษาไทย : กรณีศึกษานักเรียนระดับประถมศึกษา ที่นำเรื่องนี้ มาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะได้ให้ครูปฐมวัยได้เข้าใจถึงการเรียนรู้ภาษาไทยของเด็กไทยเราว่ามีความสำคัญแค่ไหน เพียงใด มีลำดับขั้นตอน/เทคนิคการสอนอย่างไร ความสำคัญของพฤติกรรมการสอนของครู/พฤติกรรมการเรียนของเด็ก การวัดประเมินผล ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการเรียนภาษาไทย ทั้งหมดที่กล่าวครูปฐมวัยจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมสู่การเรียนภาษาในระดับขั้นพื้นฐาน ถ้าเราไม่เข้าใจถึงการเรียนภาษาในระดับประถมศึกษาแล้ว ประสิทธิภาพในการเตรียมด้านภาษาก็จะเป็นไปตามยถากรรม ได้บ้าง เสียบ้าง ส่วนใหญ่จะเสียมากกว่าเพราะเราเตรียมเด็กด้านภาษาจากประสบการณ์เดิมหรือ ประสบการณ์ที่ผู้ใหญ่แต่ละคนได้รับ ขณะเดียวกันในปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสังคมก็ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษา จากงานวิจัยด้านการเรียนรู้ภาษาของนักภาษาศาสตร์หลายท่านเสนอ แนวคิดว่าการเรียนรู้ภาษาเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด เป็นรูปแบบการเรียนรู้ตามธรรมชาติและสามารถสื่อสารได้ ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ระบบ การศึกษา แต่เมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ภาษากลายเป็นเรื่องยาก ไม่สามารถทำความ เข้าใจได้ บางครั้งไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง ปัญหาเหล่านี้น่าจะเกิดจาก

ประเด็นปัญหาที่สำคัญ 2 ประการคือ


1. เทคนิควิธีหรือทฤษฎีการสอนภาษา ผู้สอนจำนวนมากยังไม่เข้าใจทฤษฎีหรือเทคนิควิธีสอนที่ชัดเจน ตลอดจนความเหมาะสมระหว่างวิธีสอนและผู้เรียน ทำให้การเรียนรู้ภาษาไม่น่าสนใจกลายเป็นเรื่องยาก ผู้เรียนขาดความสนใจและมั่นใจในตนเอง
2. มาตรฐานของครูผู้สอนภาษา โดยเฉพาะภาษาแม่หลายคนจะเข้าใจผิดว่าใครก็สอนได้ถ้าพูดภาษานั้น ๆ ได้ แต่เมื่อการสอนไม่ถูกต้องตามเทคนิควิธีการสอนภาษา ผลที่จะได้จะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่แน่ชัด หรือผู้เรียนบางคนมีความสามารถหรือเทคนิคการเรียนที่ดี ผู้สอนควรจะส่งเสริมอย่างไร ผู้เรียนจึงจะประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้จะลดลงมาก หากผู้สอนมีความรู้ ความสามารถในศาสตร์ของตน ผลการจัดการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จตามมาตรฐานที่กำหนด

โครงการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

โครงการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาทอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. ชื่อโครงการ โครงการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

2. ประเภทโครงการ โครงการต่อเนื่อง

3. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท มีอาคารเรียนที่ติดกับถนน ซึ่งถนนดังกล่าวมีรถสัญจรไปมา เป็นจำนวนมาก และรถที่วิ่งผ่านจะขับมาด้วยความเร็วสูง เมื่อผู้ปกครองมาส่งลูกหลานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแล้วกลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุกับลูกหลาน ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเห็นความสำคัญในการจัดสร้างรั้วกั้นรอบๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความปลอดภัยต่อตัวเด็กและไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อนักเรียนทุกคนได้

4. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กวิ่งออกไปเล่นข้างๆถนน
2. เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก

5. เป้าหมาย
ต้องการสร้างรั้วกันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อความปลอดภัยแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

6. ระยะเวลาในการดำเนินการ
ดำเนินการในปีงบประมาณ 2552

7. วิธีดำเนินการ
1. ทำโครงการเสนอผู้บังคับบัญชา
2. ดำเนินการจัดสร้างเมื่อได้รับการอนุมัติงบประมาณตามโครงการ



8. สถานที่ดำเนินการ
ภายในบริเวณรอบๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

10. งบประมาณ
เป็นจำนวนเงิน บาท

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับความปลอดภัยมากขึ้น
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีบริเวณ อาณาเขตเป็นสัดส่วน
3. ลดการเกิดอุบัติเหตุแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

12. ผู้รับผิดผิดชอบโครงการ
ศูนย์พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

ลงชื่อ........................................................... ผู้เสนอโครงการ
( นางสาวจินดา คงสีชาย )
ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

ลงชื่อ........................................................... ผู้เห็นชอบโครงการ
( จ.ส.อ. สมเกียรติ หนำคอก )
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

ลงชื่อ........................................................... ผู้อนุมัติโครงการ
( ด.ต. ไสว รสสารภี )
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

โครงการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

โครงการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาทอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. ชื่อโครงการ โครงการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

2. ประเภทโครงการ โครงการต่อเนื่อง

3. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท มีอาคารเรียนที่ติดกับถนน ซึ่งถนนดังกล่าวมีรถสัญจรไปมา เป็นจำนวนมาก และรถที่วิ่งผ่านจะขับมาด้วยความเร็วสูง เมื่อผู้ปกครองมาส่งลูกหลานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแล้วกลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุกับลูกหลาน ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเห็นความสำคัญในการจัดสร้างรั้วกั้นรอบๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความปลอดภัยต่อตัวเด็กและไม่ทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อนักเรียนทุกคนได้

4. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กวิ่งออกไปเล่นข้างๆถนน
2. เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก

5. เป้าหมาย
ต้องการสร้างรั้วกันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อความปลอดภัยแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

6. ระยะเวลาในการดำเนินการ
ดำเนินการในปีงบประมาณ 2552

7. วิธีดำเนินการ
1. ทำโครงการเสนอผู้บังคับบัญชา
2. ดำเนินการจัดสร้างเมื่อได้รับการอนุมัติงบประมาณตามโครงการ



8. สถานที่ดำเนินการ
ภายในบริเวณรอบๆศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

10. งบประมาณ
เป็นจำนวนเงิน บาท

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับความปลอดภัยมากขึ้น
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีบริเวณ อาณาเขตเป็นสัดส่วน
3. ลดการเกิดอุบัติเหตุแก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

12. ผู้รับผิดผิดชอบโครงการ
ศูนย์พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

ลงชื่อ........................................................... ผู้เสนอโครงการ
( นางสาวจินดา คงสีชาย )
ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

ลงชื่อ........................................................... ผู้เห็นชอบโครงการ
( จ.ส.อ. สมเกียรติ หนำคอก )
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

ลงชื่อ........................................................... ผู้อนุมัติโครงการ
( ด.ต. ไสว รสสารภี )
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระบาท

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552