นกบิล

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การวิเคราะห์ความสามารถและข้อบกพร่องในการอ่านและการเรียนรู้ภาษาไทย

การวิเคราะห์ความสามารถและข้อบกพร่องในการอ่านและการเรียนรู้ภาษาไทย : กรณีศึกษานักเรียนระดับประถมศึกษา ที่นำเรื่องนี้ มาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะได้ให้ครูปฐมวัยได้เข้าใจถึงการเรียนรู้ภาษาไทยของเด็กไทยเราว่ามีความสำคัญแค่ไหน เพียงใด มีลำดับขั้นตอน/เทคนิคการสอนอย่างไร ความสำคัญของพฤติกรรมการสอนของครู/พฤติกรรมการเรียนของเด็ก การวัดประเมินผล ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการเรียนภาษาไทย ทั้งหมดที่กล่าวครูปฐมวัยจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมสู่การเรียนภาษาในระดับขั้นพื้นฐาน ถ้าเราไม่เข้าใจถึงการเรียนภาษาในระดับประถมศึกษาแล้ว ประสิทธิภาพในการเตรียมด้านภาษาก็จะเป็นไปตามยถากรรม ได้บ้าง เสียบ้าง ส่วนใหญ่จะเสียมากกว่าเพราะเราเตรียมเด็กด้านภาษาจากประสบการณ์เดิมหรือ ประสบการณ์ที่ผู้ใหญ่แต่ละคนได้รับ ขณะเดียวกันในปัจจุบันสภาพแวดล้อมและสังคมก็ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษา จากงานวิจัยด้านการเรียนรู้ภาษาของนักภาษาศาสตร์หลายท่านเสนอ แนวคิดว่าการเรียนรู้ภาษาเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด เป็นรูปแบบการเรียนรู้ตามธรรมชาติและสามารถสื่อสารได้ ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ระบบ การศึกษา แต่เมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาพบว่า การเรียนรู้ภาษากลายเป็นเรื่องยาก ไม่สามารถทำความ เข้าใจได้ บางครั้งไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง ปัญหาเหล่านี้น่าจะเกิดจาก

ประเด็นปัญหาที่สำคัญ 2 ประการคือ


1. เทคนิควิธีหรือทฤษฎีการสอนภาษา ผู้สอนจำนวนมากยังไม่เข้าใจทฤษฎีหรือเทคนิควิธีสอนที่ชัดเจน ตลอดจนความเหมาะสมระหว่างวิธีสอนและผู้เรียน ทำให้การเรียนรู้ภาษาไม่น่าสนใจกลายเป็นเรื่องยาก ผู้เรียนขาดความสนใจและมั่นใจในตนเอง
2. มาตรฐานของครูผู้สอนภาษา โดยเฉพาะภาษาแม่หลายคนจะเข้าใจผิดว่าใครก็สอนได้ถ้าพูดภาษานั้น ๆ ได้ แต่เมื่อการสอนไม่ถูกต้องตามเทคนิควิธีการสอนภาษา ผลที่จะได้จะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่แน่ชัด หรือผู้เรียนบางคนมีความสามารถหรือเทคนิคการเรียนที่ดี ผู้สอนควรจะส่งเสริมอย่างไร ผู้เรียนจึงจะประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้จะลดลงมาก หากผู้สอนมีความรู้ ความสามารถในศาสตร์ของตน ผลการจัดการเรียนรู้จะประสบความสำเร็จตามมาตรฐานที่กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น